พฤติกรรมการเคลื่อนไหวและการไม่เคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมง
Translators: Waris Wongpipit (Faculty of Education, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand), Prof Tanomwong Kritpet (Faculty of Sports Science, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand), Assistant Prof Sitha Phongphibool (Faculty of Sports Science, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand)
คำศัพท์
|
1. กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ/ การขาดกิจกรรมทางกาย
|
คำนิยามทั่วไป
|
การมีระดับกิจกรรมทางกายต่ำกว่าที่กำหนดตามคำแนะนำของการมีกิจกรรมทางกาย
|
เงื่อนไขการใช้
|
เป็นคำนิยามทั่วไปที่นำไปใช้ได้กับทุกวัยและทุกกลุ่มคนปกติ
|
ตัวอย่าง
|
- เด็กวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 1-4 ปี): มีกิจกรรมทางกายต่ำกว่า 180 นาที ของทุกระดับความหนักต่อวัน
- เด็กและเยาวชน (อายุ 5-17 ปี): มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก ต่ำกว่า 60 นาทีต่อวัน
- ผู้ใหญ่ (อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี): มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก ต่ำกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ มีกิจกรรมทางกายระดับหนัก ต่ำกว่า 75 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ การผสมผสานระหว่างกิจกรรมทางกายระดับปานกลางและหนักอย่างละเท่ากัน
|
คำศัพท์
|
2. พฤติกรรมหยุดนิ่งอยู่กับที่
|
คำนิยาม
|
พฤติกรรมหยุดนิ่งอยู่กับที่ หมายถึง พฤติกรรมใด ๆ ขณะตื่นนอน ที่เกิดขึ้นระหว่าง การนอนราบ เอนหลัง นั่ง หรือ ยืน ซึ่งปราศจากการเคลื่อนที่ โดยไม่คำนึงถึงการใช้พลังงาน
|
เงื่อนไขการใช้
|
- การใช้เวลากับพฤติกรรมหยุดนิ่งอยู่กับที่: เวลาที่ใช้ในพฤติกรรมหยุดนิ่งอยู่กับที่ ในช่วงระยะเวลาใด ๆ (ต่อวัน หรือต่อสัปดาห์) ในทุกบริบท (เช่น ที่โรงเรียน/ ที่ทำงาน) ที่ระดับความหนักใด ๆ (เช่น การยืนเข้าแถว การทำงานต่อเนื่องโดยไม่มีการลุกขึ้น การทำงานโดยการใช้โต๊ะยืนทำงาน การนั่งในห้องเรียน)
- การหยุดนิ่งอยู่กับที่ช่วงเวลาหนึ่ง: ช่วงระยะเวลาของการหยุดนิ่งอยู่กับที่อย่างต่อเนื่อง
- การรบกวน/การหยุด การหยุดนิ่งอยู่กับที่: ช่วงระยะเวลาที่ไม่มีการหยุดนิ่งอยู่กับที่ ที่อยู่ระหว่างช่วงเวลาที่มีการหยุดนิ่งอยู่กับที่สองช่วงเวลา (ใช้ได้กับทุกวัยและทุกกลุ่มคนปกติ ยกเว้น ทารก)
- คำนิยามทั่วไปสามารถใช้ได้กับทุกวัยและทุกกลุ่มคนปกติ ยกเว้น ทารก (อายุน้อยกว่าหนึ่งปี ถึง ช่วงก่อนเริ่มเดิน) และ คนที่มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถยืนได้
|
ตัวอย่าง
|
- การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต โทรศัพท์) ขณะนั่ง เอนหลัง หรือนอนราบ; การนั่งอ่าน การนั่งเขียน การนั่งวาดรูป การนั่งระบายสี การนั่งพูด; การนั่งที่โรงเรียน/ที่ทำงาน; การนั่งบนรถประจำทาง รถยนต์ หรือรถไฟ
- การยืนเข้าแถว; การยืนในโบสถ์; การยืนพูดคุย; การเขียนข้อความขณะยืน; การใช้โต๊ะยืน (โต๊ะปรับระดับ)
- การถูกอุ้ม/ยก/กอด จากบุคคลอื่น
|
คำศัพท์
|
3. พฤติกรรมเนือยนิ่ง
|
คำนิยาม
|
พฤติกรรมเนือยนิ่ง คือ กิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่มีการใช้พลังงานต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1.5 METs ในท่านั่ง เอนหลัง นอนราบ ขณะตื่นนอน
|
เงื่อนไขการใช้
|
- การใช้เวลากับการเนือยนิ่ง: เวลาที่ใช้ในการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งทุกระยะเวลา (เช่น นาทีต่อวัน) และบริบท (เช่น ที่โรงเรียน หรือที่ทำงาน)
- ช่วงเวลาของการเนือยนิ่ง: ช่วงเวลาของการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งอย่างต่อเนื่อง
- การรบกวน/การหยุด การเนือยนิ่ง: ช่วงระยะเวลาที่ไม่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ที่อยู่ระหว่างช่วงเวลาที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งสองช่วงเวลา
- ทารก (อายุน้อยกว่า 1 ปี หรือ ช่วงก่อนเริ่มเดิน): พฤติกรรมใด ๆ ขณะตื่น ที่มีลักษณะการใช้พลังงานต่ำในขณะที่จำกัดการเคลื่อนไหว (เช่น รถเข็นเด็ก เก้าอี้สูง ที่นั่งติดรถยนต์สำหรับเด็ก) หรือ ขณะนั่ง (เช่น การเอนหลัง/นั่งบนเก้าอี้ที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อยแต่ไม่จำกัดการเคลื่อนไหว) เวลาที่ใช้ในท่านอนคว่ำ (ช่วงเวลานอนคว่ำ) ไม่นับเป็นการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง
- เด็กวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 1-4 ปี) เด็กและเยาวชน (อายุ 5-17 ปี) ผู้ใหญ่ (อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี) และกลุ่มคนปกติ: เหมือนคำนิยามที่ได้กล่าวไว้
|
ตัวอย่าง
|
- วัยทารก (อายุน้อยกว่า 1 ปี หรือ ช่วงก่อนเริ่มเดิน): การเอนราบที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อยบนเตียงขณะตื่น; นั่งอยู่บนเก้าอี้เด็ก เก้าอี้สูง รถเข็น ที่นั่งติดรถยนต์สำหรับเด็กที่จำกัดการเคลื่อนไหว; การถูกอุ้ม/ยก/กอด จากบุคคลอื่น
- เด็กวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 1-4 ปี): การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต โทรศัพท์มือถือ) ขณะนั่ง เอนหลัง นอนราบ; การนั่งอ่านหนังสือ/วาดรูป/ระบายสี การนั่งบนรถเข็น; การนั่งบนเก้าอี้เด็ก หรือโซฟาขณะรับประทานอาหาร; การนั่งในรถประจำทาง รถยนต์ หรือ รถไฟ
- เด็กและเยาวชน (5-17 ปี): การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต โทรศัพท์มือถือ) ขณะ นั่ง เอนหลัง หรือ นอนราบ; การนั่งอ่านหนังสือ/วาดรูป/ระบายสี; การนั่งทำการบ้าน; การนั่งที่โรงเรียน; การนั่งบนรถประจำทาง รถยนต์ หรือ รถไฟ
- ผู้ใหญ่ (อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี): การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต โทรศัพท์มือถือ) ขณะ นั่ง เอนหลัง หรือ นอนราบ; การนั่งอ่านหนังสือ/วาดรูป/ระบายสี; การนั่งในรถประจำทาง รถยนต์ หรือ รถไฟ
- บุคคลที่ใช้รถเข็นชนิดทั่วไปหรือไฟฟ้า: การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต โทรศัพท์มือถือ) ขณะ นั่ง เอนหลัง หรือ นอนราบ; การนั่งอ่านหนังสือ/วาดรูป/ระบายสี/พูดคุย; การนั่งในรถประจำทาง รถยนต์ หรือรถไฟ; การเคลื่อนไหวไปที่ต่าง ๆ ด้วยรถเข็นไฟฟ้า; การถูกเข็นขณะนั่งบนรถเข็นชนิดทั่วไป
|
คำศัพท์
|
4. การยืน
|
คำนิยาม
|
การอยู่ในท่าที่ร่างกายตั้งตรงโดยน้ำหนักตัวลงที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง
|
เงื่อนไขการใช้
|
- การยืนแบบกระฉับกระเฉง: กิจกรรมใด ๆ ในท่ายืน ขณะตื่น โดยมีการใช้พลังงานมากกว่า 2.0 METs ซึ่งขณะที่ยืนนั้นไม่มีการเคลื่อนที่ไปมา จะมีสิ่งค้ำช่วยในการยืนหรือไม่มีก็ได้
- การยืนแบบนิ่งเฉย: กิจกรรมใด ๆ ในท่ายืน ขณะตื่น โดยมีการใช้พลังงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.0 METs ซึ่งขณะที่ยืนนั้นไม่มีการเคลื่อนที่ไปมา จะมีสิ่งค้ำช่วยในการยืนหรือไม่มีก็ได้
- การใช้เวลากับการยืน: เวลาที่ใช้ใด ๆ ขณะที่ยืน (เช่น นาทีต่อวัน) หรือ ทุกบริบท (เช่น ที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน)
- การยืนช่วงเวลาหนึ่ง: ช่วงระยะเวลาที่ยืนอย่างต่อเนื่อง
- การรบกวน/การหยุด การยืน: ช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่อยู่ในท่ายืน ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาการยืนสองช่วง
- คำนิยามนี้สามารถใช้ได้กับทารก (อายุน้อยกว่า 1 ปี หรือ ช่วงก่อนเริ่มเดิน) เด็กวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 1-4 ปี) เด็กและเยาวชน (อายุ 5-17 ปี) ผู้ใหญ่ (อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี): และบุคคลที่ใช้รถเข็นชนิดทั่วไปและไฟฟ้า
- ไม่เหมาะสมกับบุคคลที่ไม่สามารถยืนได้
|
ตัวอย่าง
|
- การยืนแบบกระฉับกระเฉง: การยืนบนบันได การยืนขณะวาดภาพระบายสี การยืนขณะล้างจ้าง การยืนขณะทำงานโรงงาน การยืนขณะเล่นกล การยืนขณะยกน้ำหนัก
- การยืนแบบนิ่งเฉย: การยืนเข้าแถว การยืนพูดคุย การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต โทรศัพท์) การยืนในโบสถ์
- การยืนแบบมีสิ่งค้ำ/พยุง: ขณะยืนต้องจับเตียง เก้าอี้ หรือมือของบิดามารดา; ขณะยืนมีไม้ค้ำ ไม้เท้า หรืออุปกรณ์ช่วยพยุงตัว
|
คำศัพท์
|
5. การใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ
|
คำนิยาม
|
การใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ หมายถึง เวลาที่ใช้ในการมีพฤติกรรมการอยู่กับหน้าจอ พฤติกรรมนี้สามารถกระทำได้ในขณะที่เนือยนิ่งหรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย
|
เงื่อนไขการใช้
|
- การใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเพื่อนันทนาการ: เวลาที่ใช้ในการมีพฤติกรรมอยู่กับหน้าจอที่ไม่เกี่ยวข้องกับที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน
- เวลาอยู่กับหน้าจอขณะอยู่ในพฤติกรรมหยุดนิ่งเฉย: การใช้เวลากับอุปกรณ์ที่มีหน้าจอ (เช่น โทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์) ขณะอยู่ในพฤติกรรมหยุดนิ่งอยู่กับที่ ในทุกบริบท (เช่น ที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือ เพื่อนันทนาการ)
- เวลาที่อยู่กับหน้าจอขณะอยู่ในพฤติกรรมเนือยนิ่ง: การใช้เวลากับอุปกรณ์ที่มีหน้าจอ (เช่น โทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์) ขณะอยู่ในพฤติกรรมเนือยนิ่งในทุกบริบท (เช่น ที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือ เพื่อนันทนาการ)
- การใช้เวลาอยู่กับหน้าจอแบบกระฉับกระเฉง: การใช้เวลากับอุปกรณ์ที่มีหน้าจอ (เช่น โทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์) ขณะไม่อยู่ในพฤติกรรมหยุดนิ่งอยู่กับที่ ในทุกบริบท (เช่น ที่โรงเรียน ที่ทำงาน เพื่อนันทนาการ)
|
ตัวอย่าง
|
- ทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มคนปกติ: การดูโทรทัศน์ การใช้โทรศัพท์มือถือ/แทปเล็ต การใช้คอมพิวเตอร์
- การใช้เวลาอยู่ที่หน้าจอแบบกระฉับกระเฉง: การเล่นวีดีโอเกมที่มีการเคลื่อนที่ของร่างกาย วิ่งบนลู่วิ่งขณะดูโทรทัศน์
|
คำศัพท์
|
6. การใช้เวลากับการเนือยนิ่งโดยไม่มีการใช้หน้าจอ
|
คำนิยาม
|
การใช้เวลากับการเนือยนิ่งโดยไม่มีการใช้หน้าจอ หมายถึง เวลาที่ใช้ในพฤติกรรมเนือยนิ่งที่ไม่มีการใช้หน้าจอเข้ามาเกี่ยวข้อง
|
เงื่อนไขการใช้
|
- การใช้เวลากับการใช้หน้าจอในเวลานันทนาการ: เวลาที่ใช้ในพฤติกรรมเนือยนิ่งที่ไม่มีการใช้หน้าจอ ไม่เกี่ยวข้องกับที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน
- คำนิยามทั่วไปนี้ใช้ได้กับทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มคนปกติ
|
ตัวอย่าง
|
- ทารก (อายุน้อยกว่า 1 ปี หรือวัยก่อนเริ่มเดิน): การนอนบนเสื่อ/ฟูก; การนั่งบนเปลหรือที่นั่งติดรถยนต์สำหรับเด็กที่สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
- เด็กวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 1-4 ปี): การนั่งอยู่บนเก้าอี้เด็ก เก้าอี้ทั่วไป หรือที่นั่งติดรถยนต์สำหรับเด็ก; การนั่งเล่นอยู่ในกะบะทรายหรือบนพื้น; การนั่งอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสืออีเล็กทรอนิก หรือการนั่งเล่นเกมกระดาน
- เด็กและเยาวชน (อายุ 5-17 ปี): การนั่งที่โรงเรียน; การนั่งทำการบ้านหรืองานศิลปะ; การอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสืออิเล็กทรอนิก; การเล่นเกมกระดาน; การนั่งในรถยนต์
- ผู้ใหญ่ (อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี): การอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสืออิเล็กทรอนิก; การเล่นเกมกระดาน; การนั่งในรถยนต์
- บุคคลที่ใช้รถเข็นชนิดทั่วไปหรือไฟฟ้า: การอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสืออิเล็กทรอนิก; การเล่นเกมกระดาน; การนั่งในรถยนต์; การเข็นรถขณะมีคนนั่งในรถเข็นชนิดทั่วไป
|
คำศัพท์
|
7. การนั่ง
|
คำนิยาม
|
การอยู่ในท่าที่น้ำหนักลงที่ก้นมากกว่าที่เท้า และหลังอยู่ในแนวตั้ง
|
เงื่อนไขการใช้
|
- การนั่งแบบกระฉับกระเฉง: การนั่งแบบกระฉับกระเฉงหมายถึงกิจกรรมใด ๆ ขณะตื่นในท่านั่งที่มีการใช้พลังงานมากกว่า 1.5 METs
- การนั่งแบบนิ่งเฉย: การนั่งแบบนิ่งเฉย หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ขณะตื่นในท่านั่งที่มีการใช้พลังงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.5 METs
- คำนิยามทั่วไปนี้ใช้ได้กับทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มคนปกติ
|
ตัวอย่าง
|
- การนั่งแบบกระฉับกระเฉง: การนั่งทำงานในโรงงาน การนั่งเล่นกีตาร์ การนั่งใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการใช้ขาหรือเท้า การใช้มือปั่นล้อขณะนั่งอยู่บนรถเข็นวีลแชร์
- การนั่งแบบนิ่งเฉย: หมายถึง พฤติกรรมเนือยนิ่งขณะนั่ง
|
คำศัพท์
|
8. การเอนหลัง
|
คำนิยาม
|
การเอนหลัง คือ การที่ร่างกายอยู่ในท่าระหว่างการนั่งและการนอนราบ (กึ่งนั่งกึ่งนอน)
|
เงื่อนไขการใช้
|
- คำนิยามทั่วไปนี้ใช้ได้กับทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มคนปกติ
- พฤติกรรมการเอนหลังเป็นได้ทั้ง แบบอยู่นิ่งเฉย (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.5 METs) หรือ แบบกระฉับกระเฉง (มากกว่า 1.5 METs)
|
ตัวอย่าง
|
- การเอนหลังแบบนิ่งเฉย (ใช้ได้กับทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มคนปกติ): การเอนพิงอยู่บนเก้าอี้หรือเบาะขณะเนือยนิ่ง
- การเอนหลังแบบกระฉับกระเฉง (ใช้ได้กับทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มคน): การปั่นจักรยานแบบเอนปั่น
|
คำศัพท์
|
9. การนอนราบ
|
คำนิยาม
|
การนอบราบ หมายถึง การอยู่ในท่าแนวราบขนานกับพื้นที่รองรับ
|
เงื่อนไขการใช้
|
- คำนิยามทั่วไปนี้ใช้ได้กับทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มคนปกติ
- การนอนราบเป็นได้ทั้ง แบบอยู่นิ่งเฉย (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.5 METs) หรือ แบบกระฉับกระเฉง (มากกว่า 1.5 METs)
|
ตัวอย่าง
|
- การนอนราบแบบอยู่นิ่งเฉย (ใช้ได้กับทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มคนปกติ): การนอนราบบนโซฟา เตียง หรือพื้น ขณะเนือยนิ่ง
- การนอนราบแบบกระฉับกระเฉง (ใช้ได้กับทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มคนปกติ): การทำท่าแพลงค์แบบเกร็งกล้ามเนื้อ
|
คำศัพท์
|
10. รูปแบบการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง
|
คำนิยาม
|
การกระทำที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งสะสมตลอดทั้งวัน หรือ ทั้งสัปดาห์ ขณะ ตื่น (เช่น เวลา ระยะเวลา และความถี่ของคาบช่วงเวลาที่มีการเนือยนิ่ง และการหยุดพฤติกรรมเนือยนิ่ง)
|
เงื่อนไขการใช้
|
คำนิยามทั่วไปนี้ใช้ได้กับทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มคนปกติ
|
ตัวอย่าง
|
- บุคคลที่เนือยนิ่งนาน: ใครก็ตามที่มีการสะสมเวลาของการเนือยนิ่งเป็นระยะเวลานาน
- บุคคลที่เนือยนิ่งน้อย: ใครก็ตามที่มีการสะสมเวลาของการเนือยนิ่งอย่างไม่ต่อเนื่องด้วยการรบกวนหรือหยุดการเนือยนิ่งบ่อยครั้งเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
|
MET = หน่วยพลังงานที่สอดคล้องกับอัตราการเผาผลาญของร่างกายขณะพักผ่อนในกลุ่มประชากร เทียบเท่ากับ 3.5 มิลลิลิตรออกซิเจนต่อกิโลกรัมต่อนาที ในผู้ใหญ่ที่ไม่มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวหรือโรคเรื้อรัง โดยทั่วไปหน่วยพลังงานมีค่าระดับสูงในเด็กและบุคคลที่มีการเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อหรือเมตาบอลิซึม และหน่วยพลังงานมีค่าระดับต่ำในบุคคลที่เป็นอัมพาต มีมวลกล้ามเนื้อน้อย หรือผอมแห้งการตีความค่าหน่วยพลังงานนั้นควรจะให้ความสำคัญสอดคล้องกับประชากรในงานวิจัย และคำนิยามและเงื่อนไขการใช้ข้างบน